ระบบสารสนเทศสถานศึกษาเอกชนและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน(PSIS)
เข้าสู่ระบบได้ที่นี่ http://psis.opec.go.th/
ความเป็นมา
ในปี 2547 กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการเก็บรวบรวมข้อมูลโรงเรียน ครูและนักเรียน เป็นรายบุคคล เพื่อใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลกลางระดับกระทรวง จึงมอบหมายให้หน่วยงานทุกสังกัดที่มีสถานศึกษาดำเนินการเก็บรวบรวมและจัดส่งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. ซึ่งรายการข้อมูลที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมีเป็นจำนวนมาก สช.จึงได้พัฒนาระบบเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้น คือ
ระบบสารสนเทศสถานศึกษาเอกชน (PSI47) และในขณะเดียวกัน สช.จำเป็นต้องดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน จึงได้พัฒนาระบบการขอรับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน (SP47) และปรับปรุงเป็น(SP48) ในเวลาต่อมา
ซึ่งจากการวิเคราะห์รายการข้อมูลของระบบทั้ง 2 มีความใกล้เคียงและซ้ำซ้อนกัน สช.จึงได้ทำการพัฒนาระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน(PSIS) ขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานจัดทำข้อมูลทั้งในส่วนของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สช.
วัตถุประสงค์
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน (PSIS) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโรงเรียน ครู/บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนเอกชนในระบบ สำหรับใช้ในการบริหารจัดการเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน และเป็นข้อมูล
สำหรับการส่งเสริมด้านต่างๆ เช่น การดำเนินงานนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ด้านสวัสดิการต่างๆ ของครู/บุคลากร การพัฒนาคุณภาพครู/บุคลากร เป็นต้น
ลักษณะของระบบงาน
ระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน(PSIS) มีลักษณะการทำงานดังนี้
1. ระบบงานมีฐานข้อมูลกลาง อยู่ที่ สช. เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลของโรงเรียนเอกชนในระบบทั่วประเทศ
2. ทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Web Application) ซึ่งมีความสะดวกสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา (ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบ)
3. สามารถทำงานได้ 2 ลักษณะ คือ Online และ Offline (กรณีจำเป็น) ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของโรงเรียน
ขั้นตอนการทำงาน ระบบ PSIS
1. โรงเรียนเอกชนในระบบบันทึกข้อมูลโรงเรียน ครู/บุคลากร และนักเรียนผ่านระบบ PSIS
2. สช/สพท. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โรงเรียน ครู/บุคลากร และนักเรียน หากพบข้อผิดพลาด เจ้าหน้าที่แจ้งให้โรงเรียนแก้ไข
3. เมื่อข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์ โรงเรียนจัดทำรายงาน (แบบ อน.ต่างๆ / แบบรายงานสถิตินักเรียน/นักศึกษา) ส่งหน่วยงานต้นสังกัด
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถจัดทำรายงานสรุปต่างๆ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการเงินอุดหนุน และสถิติการศึกษาเอกชน
5. สช. สามารถจัดทำรายงานสรุปต่างๆ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการเงินอุดหนุนและสถิติการศึกษาเอกชน
6. ข้อมูลจากระบบ PSIS สามารถให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเอกชน เช่น
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง กองทุนสงเคราะห์ และธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
7. ประมวลผลเป็นสถิติในภาพรวมสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานและผู้สนใจทั่วไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
ด้านข้อมูล
- ข้อมูลจากระบบ PSIS ไม่มีความซ้ำซ้อน มีความถูกต้อง ทันสมัย สามารถเรียกใช้ได้ทุกเวลา
- หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน มีความถูกต้อง/ตรงกัน ทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ สามารถขอใช้บริการข้อมูลเพื่อการส่งเสริมสนับสนุน การจัดการศึกษาเอกชนได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ
ความสะดวก
- ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา
- หากมีการปรับเปลี่ยนอัตราการอุดหนุนต่างๆ ในอนาคตสามารถทำได้ง่าย (ปรับเปลี่ยนที่เครื่องแม่ข่ายเท่านั้น)
- ไม่ต้องมีการนำระบบไปลงที่เครื่องของโรงเรียน (กรณีใช้ Online)
- สช/สพท. สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สำนักงบประมาณ/กระทรวงการคลัง สามารถขอใช้บริการในการตรวจสอบ ข้อมูลการอุดหนุนต่าง ๆ จากระบบ PSIS
ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ/โปร่งใสในการดำเนินงานของทั้งในส่วนของโรงเรียนและ สช.
- กระทรวงศึกษาธิการ มีฐานข้อมูลกลางในภาพรวมของทุกสังกัด เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ให้กับโรงเรียนภาครัฐและเอกชน
- กองทุนสงเคราะห์ สามารถขอใช้บริการข้อมูลจากระบบ PSIS เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ และตรวจสอบความถูกต้องกับธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงไทย สามารถขอใช้บริการข้อมูลจากระบบ PSIS ในการดำเนินงานเรื่องการส่งเงินสมทบ 3%
แผนการดำเนินงาน การใช้ระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน
ในส่วนของโรงเรียน คือ มีการทดสอบระบบ ปรับปรุง/จัดทำข้อมูล จัดทำรายงานต่างๆ
สช. คือ การปรับระบบให้มีประสิทธิภาพ ทดสอบ/ปรับฐานข้อมูลกลาง ฝึกอบรมการใช้ PSIS ติดตาม / ตรวจสอบ
สช.
1. สช. ดำเนินการจัดหาครุภัณฑ์และปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ
2. ทำการทดสอบระบบ และปรับปรุงฐานข้อมูลกลาง โรงเรียนสามารถส่งข้อมูลจากระบบ SP48 หรือ PSI47 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดมายัง สช. ได้
ภายในเดือนมีนาคม ทาง e-mail ที่ http://psis@opec.go.th
3. ดำเนินการฝึกอบรมการใช้ระบบ PSIS ให้แก่โรงเรียนและเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 10 พฤษภาคม
ดังนั้น โรงเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถดำเนินการบันทึกข้อมูล/ปรับปรุงแก้ไขได้ทันที หลังจากได้รับการอบรม
4. สช. และ สพท. ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนผ่านระบบ PSIS กรณีมีปัญหาจะได้ปรับปรุงแก้ไข
โรงเรียน
1. สช. เชิญโรงเรียนเพื่อทำการทดสอบระบบและความถูกต้องต่าง ๆ ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนมีนาคม จำนวน 22 โรงเรียน
2. โรงเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถดำเนินการบันทึกข้อมูล/ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในระบบ
3. โรงเรียนที่ทำการบันทึกข้อมูล/ปรับปรุงแก้ไขเสร็จสมบูรณ์ สามารถจัดทำรายงานอุดหนุนต่าง ๆ ได้ทันที
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Sunday, 15 March 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment