จิตตาภิบาล:การศึกษาคาทอลิก การบริหารและการพัฒนานักเรียน
หลักการศาสนาคาทอลิก มีคุณลักษณะเฉพาะในระดับต่างๆ เหมือนกับประเพณีคริสต์อื่นๆ
แต่สิ่งที่ทำให้มีความเป็นคาทอลิก คือ การรวมตัวเข้าด้วยกันและการจัดภาพ/โครงสร้างประกอบ
เป็นหนึ่งเดียวกัน/เอกลักษณ์ชัดเจน คือ คุณลักษณะที่มีพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจของคาทอลิก
เกี่ยวกับพระเจ้าและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ดังนี้คือ
1) ความเข้าใจการเป็นบุคคลในแง่ดี (Anthropology of the person)
2) การเป็นเครื่องหมายถึงพระเจ้าของชีวิต
3) การเน้นที่การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะของความเป็นอยู่ของมนุษย์และคริสตชน
4) การยึดถือประเพณี วัฒนธรรมเป็นแหล่งที่มาขของประวัติศาสตร์และวิสัยทัศน์
5) การให้คุณค่าความมีเหตุผลและการเรียนรู้ โดยถือเป็นหน้าที่ที่จะให้การศึกษาอบรม
แต่สิ่งที่อยู่เหนือและแทรกอยู่ทั่วทุกคุณลักษณะทางเทววิทยา คือ การถือเป็นพันธะหน้าที่หลักอีก 3 ประการ
ซึ่งกระจายทั่วและผูกโยง 5 ลักษณะข้างต้นไว้ด้วยกัน คือ
1. การอุทิศตนผูกพันของหลักการคาทอลิกต่อการเป็นบุคคลของคนทั่วไป ต่อการเป็นอย่างที่ควรจะเป็น
และจริยธรรมของชีวิตของพวกเขา คือ ความใส่ใจด้านอภิปรัชญา
2. การอุทิศตนผูกพันของหลักการคาทอลิก ต่อ"ความยุติธรรมพื้นฐาน" หรือความใส่ใจเชิงสังคมวิทยา
3. การอุทิศตนผูกพันของหลักการคาทอลิกต่อ "ความเป็นคาทอลิก" ในความหมายของการเป็นสากลและสำหรับทุกคน หรือความใส่ใจเชิงการเปิดกว้างต่อทุกคน
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Thursday, 5 March 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment