จิตตาภิบาล: การทำงานของโรงเรียนคาทอลิกที่มีประสิทธิผล
โรงเรียนคาทอลิกที่มีประสิทธิผลจะจัดระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนนั้น
อย่างน้อยจะมีลักษณะเฉพาะ 4 ประการ (Anthony Bryk : 1993) ดังนี้
1) แผนการเรียนการสอนที่มีแก่น/จุดศูนย์รวม
แกนหลักสูตรและแผนการสอนจะต้องเป็นลักษณะมุมมองเชิงรุก (Proactive) ของครูและผู้บริหาร
เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และควรเรียนรู้ โดยพิจารณาคำนึงถึงภูมิหลังของนักเรียนและแผนการ
ศึกษาอนาคต ที่คัดเลือกเนื้อหาบทเรียนและปริมาณที่พอเหมาะ
2) การจัดโครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างของหลักสูตรจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
2.1) กลุ่มกิจกรรมต้องมีลักษณะกว้างและครอบคลุมพัฒนาการต่างๆ ของชีวิต ทั้งด้านสติปัญญา
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคม เช่น การฟื้นฟูจิตใจ การร่วมพิธีกรรม/ศาสนกิจ กีฬา การฉลองประจำปี
โครงการด้านวรรณกรรม ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการเตรียมโอกาสมากมาย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้
/ปฎิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด และการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ใหญ่กับนักเรียน เป็นโอกาสที่ทำให้
ความผูกพันระหว่างสมาชิกของโรงเรียนมีความลึกซึ้งมากขึ้น และสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนรุ่นพี่
กับรุ่นน้อง โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับการเอื้ออำนวยจากการสร้างแผนการเรียนการสอนข้างต้น
2.2) มีการจัดการองค์กรอย่างเป็นกิจลักษณะเพื่อสร้างหมู่คณะ สิ่งสำคัญที่สุด คือ บทบาทของครู
ที่ขยายออกไป ครูไม่เป็นเพียงผู้สอนภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาประจำห้อง
หรือชมรม ซึ่งทำให้นักเรียนกับครูสามารถพบปะกันตามทางเดิน ในสนามเล่น ห้องอาหาร
ในละแวกโรงเรียนและบางครั้งที่บ้าน ปฎิสัมพันธ์ระดับบุคคลจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
นอกห้องเรียน เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสของการแสดงความห่วงใยและสนใจส่วนตัวออกมา
การทำงานร่วมกันในแบบขององค์ประชุมระหว่างครูก็มีความสำคัญเช่นกัน ครูอาจารย์ของโรงเรียนคาทอลิก
ใช้เวลาอยู่ด้วยกันทั้งในและนอกโรงเรียน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันเหล่านี้ จะเป็นจุดประสาน
การแก้ปัญหาของโรงเรียน และมีส่วนช่วยสร้างความสมานฉันท์ระหว่างผู้ใหญ่ขึ้นรอบๆ ภารกิจของโรงเรียน
ในบริบทดังกล่าว การตัดสินใดๆ ของโรงเรียนมีแนวโน้มว่า มีความขัดแย้งน้องลง และบ่อยครั้งจะมี
ลักษณะของความไว้วางใจและการให้ความเคารพต่อกัน
2.3) หลักสูตรมีลักษณะแนวคิด/ความเชื่อร่วมกันของผู้รับผิดชอบ ครูและผู้เรียน เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียน
ควรจะเรียน เกี่ยวกับเกณฑ์การสอนที่เหมาะสม และเกี่ยวกับวิธีการสัมพันธ์กับคนทั่วไป สิ่งที่เชื่อมร้อย
ปรัชญาการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก คือ ความเชื่อถือด้านศีลธรรมเกี่ยวกับบุคคล สังคม วัฒนธรรม
และบทบาทของโรงเรียนต่อการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
ดังนั้น การจัดองค์กรทางสังคมระดับพื้นฐานของโรงเรียน ในฐานะเป็นกลุ่มคน จึงมีผลที่ตามมาต่อบุคคล
และสังคมสำหรับทั้งครูและนักเรียน
3) อุดมการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ
ความคิดสำคัญ 2 ประการ ที่เป็นแรงจูงใจหรือบันดาลใจสำคัญอันเป็นคุณค่าต่อการเรียนรู้
คือ บุคคลนิยมและการอยู่ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเป็นตัวปั้นแต่งชีวิตในโรงเรียนคาทอลิก
บุคคลนิยม คือ สิ่งที่เรียกร้องความเป็นมนุษย์ในปฎิสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและประกอบเป็นชีวิตประจำวัน
กุญแจสู่การมุ่งไปบุคคลนิยม คือ บทบาทของครูที่ขยายตัวออกไปในการให้ความสนใจเกี่ยวกับประเภท
ของบุคคลของนักเรียนเหมือนกับข้อเท็จจริง ทักษะและความรู้ที่พวกเขาต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น
บุคคลนิยมยังเป็นบรรทัดฐานร่วมของโรงเรียน คือ แบบพฤติกรรมของครูและการกลายเป็นอุดมคติของ
นักเรียน
การมอบหมายงานที่ต้องพิจารณาความชำนาญเฉพาะด้านและประสิทธิผลต้องกระทำผ่านการเคารพใส่ใจ
ต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มิใช่มุ่งเพียงผลประโยชน์ของงานเฉพาะด้านและแสดง
ความสามารถสร้างกระบวนการองค์กรในการจัดการที่ซับซ้อน และในทำนองเดียวกันผู้ใต้บังคับบัญชา
ต้องยอมรับบทบาทและภารกิจที่ต้องให้ความร่วมมือและรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
และนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ
4) การปกครองแบบกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจการปกครองมิใช่เพียงเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า หรือการสร้างองค์กร
ที่ทำให้ผู้ร่วมงานมีความไวต่อการรับรู้ แต่ที่ถูกต้องคือ การกระจายอำนาจได้รับการยืนยันทัศนะว่า
ศักดิ์ศรีและความเคารพต่อความเป็นมนุษย์จะได้รับการปฎิบัติได้ดี เมื่องานถูกจัดไว้โดยคิดถึงหมู่คณะ
เล็กๆ ซึ่งมีการเสวนาและทำงานแบบเป็นหมู่คณะ ที่แก่นของความเชื่อถือนี้ คือ ศักยภาพทั้งหมด
ของบุคคลทั้งหลายจะเป็นที่ยอมรับนับถือในการรวมกลุ่มเป็นอันหนึ่งเดียวกันทางสังคม ซึ่งสามารถสร้าง
ขึ้นได้เฉพาะในความสัมพันธ์สมาคมของกลุ่มเล็กๆ
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Thursday, 5 March 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment