![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgDP09wcpbLAKJcC75yD2YKH-bjlOTBf8G8pCSSfaPsX4y8lPcxFSL3IXUof06CkJt281U4Q2Y20A0h55-bkYOiC-fxbx3Dl7iy822e0T46t0v95gmmrGIGqQ-CoP3G4-JVkG2fKLH85Mo/s320/2300100304003.png)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjKhnCpKNjJMarTQz3ZwxtoESJJOIUFmslgOGomkWw4y5AXp3ZnBHJr6qc_Liq8tjEcrPlFJ_eMwpDyKJrLRcUZeYh_t8b7AlgQk0Sm9NQ-mTM1R445fH8NxPIssn_Smx1nelmQlC8OPX8/s320/do-apply-reflect.gif)
ทบทวนอดีต ศึกษาปัจจุบัน เพื่ออนาคต
คำสอนจากนายห้าง ดร.เทียม โชควัฒนา
คนเราต้องหมั่นรำลึกถึงอดีต
โดยเฉพาะสิ่งที่คนอื่นเคยให้ประโยชน์แก่เรานั้น จะต้องจำให้แม่น
ส่วนที่เราเคยทำอะไรไว้กับใครนั้น อย่าพยายามคิดถึง
คนที่คอยคิดแต่ว่า ตัวเองเคยทำอะไรให้ใครไว้บ้าง
มักจะไม่พอใจ หากคนที่ตนเองเคยช่วยเหลือพูดจาอะไรไม่เหมาะสมโดยไม่เจตนา
โดยจะหาว่า เขาเป็นคนลืมบุญคุณคน
ในทางตรงข้าม ถ้าเราคอยคิดถึงความดีและความช่วยเหลือที่คนอื่นให้กับเรา
จะทำให้เราไม่ลืมตัว ไม่ทะนงตัว ไม่โอ้อวด
เราจะเป็นคนประมาณตน และทำให้คนอื่นรักใคร่พอใจเรา
การคิดถึงคนอื่นทำให้เราขอบคุณเขาทั้งวาจาและจิตใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
และผู้ที่เคยให้ประโยชน์กับเราย่อมมองว่า เราเป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณ
เป็นที่ยกย่องของคนทั่วไปในสังคม
การทบทวนอดีต แล้วรำลึกถึงข้อผิดพลาดบกพร่องต่าง ๆ นั้น
จะทำให้เราไม่ดำรงอยู่ในความประมาท และพัฒนาปรับปรุงตัวได้
ในการทบทวนอดีตนั้น ถ้าชนะก็ภูมิใจ แต่อย่าหลงระเริงในชัยชนะจนประมาท
แต่ถ้าผิดพลาดและพ่ายแพ้ต้องจำให้แม่น ศึกษาวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน
จะได้แก้ไขและไม่ยอมให้เกิดการผิดพลาดขึ้นมาอีก
" คนที่จดจำอดีต เข้าใจปัจจุบัน
แล้วนำอดีต ปัจจุบัน เปรียบเทียบกันนั้น จะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดี "
จงเปรียบเทียบอดีตที่เราทบทวนอยู่เสมอกับปัจจุบัน
เพื่อที่จะรู้ว่า ในเวลาปัจจุบันเราต้องปรับตัวอย่างไร?
และในขณะเดียวกัน นอกจากศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างอดีดกับปัจจุบันแล้ว
ต้องรู้จักวิเคราะห์แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง แล้วคาดคะเนอนาคต เพื่อจะได้เตรียมตัวไว้ให้พร้อม
แง่ของการศึกษาปัจจุบันนั้น ก่อนนอนแต่ละคืน ควรจะเข้าไปพบครูก่อนสัก 15 นาที
การไปพบครู ก็คือ การพินิจพิเคราะห์ตัวเราในแต่ละวันว่า เราทำอะไรถูกบ้าง เราทำอะไรผิดบ้าง
จะได้เรียนรู้ว่า อะไรควรทำต่อไป อะไรควรจะแก้ไข
สำหรับเข้าพเจ้าแล้ว ผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นคร ผิดๆ ถูกๆ ก็เป็นเหมือนมีครูหลาย ๆ คน
No comments:
Post a Comment