นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ
นโยบายเรียนฟรีเป็นนโยบายที่มีประโยชน์ เปิดโอกาสให้แก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อยก็ทำให้เชื่อมั่นว่าจะได้เรียนเหมือนเช่นเด็กอื่นๆ
การเรียนฟรี ประกอบด้วยฟรี 5 อย่าง ได้แก่ ค่าเทอม ตำราเรียน ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนและค่ากิจกรรมพิเศษ
จริงแล้วการเรียนฟรี 100% ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะที่ควร รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลถึง 1.9 หมื่นล้านบาท อีกทั้งหากผู้ปกครองคนใดมีฐานะพอจ่ายได้ ก็ควรจ่าย เป็นการฝึกการเป็น "ผู้รับ" "ผู้ให้" ที่ถูกต้อง
หากคนที่พอมีฐานะมีรายได้เพียงพอ ไม่รู้จักการเสียสละ คิดแต่เรื่องสิทธิที่ตนพึงจะได้เช่นคนอื่น ถึงรัฐจะมีงบประมาณเท่าไรก็ไม่เพียง
ที่สำคัญสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้รัฐมีรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งลด แลก แจก แถม อย่างมโหฬาร ในขณะที่ยังมองไม่เห็นช่องทางการหารายได้ของรัฐแต่อย่างใด
ดังนั้น นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ก็ควรเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ ทั้งคุณภาพการศึกษาและการใช้งบประมาณอย่างมีคุณภาพด้วย
นอกจากนี้รัฐควรจะแยกแยะว่าใครควรจะได้รับโอกาสเช่นนี้บ้าง ในส่วนของตำราเรียน รัฐจะใช้งบประมาณเพื่อซื้อตำราเรียนถึง 6 พันล้านบาท หนังสือเรียนที่แจกฟรีน่าจะเป็นการให้เด็กใช้ยืมเรียน เมื่อพ้นปีการศึกษานั้นแล้วก็ควรจะคืนไว้ให้เด็กรุ่นต่อไปได้เรียนต่อ
แต่สภาพที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการเคยมีหนังสือยืมเรียน แล้วต่อมาก็ยกเลิก ทำให้หนังสือเรียนบางส่วนยังอยู่ที่โรงเรียนก็มี เหตุที่ไม่ได้ใช้ต่ออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เนื้อหาจึงอาจเปลี่ยนไปก็ได้
อีกทั้งการให้ยืมตำราเรียน ปัญหาที่เคยพบคือ เด็กใช้หนังสือจนกระทั่งเด็กที่ใช้ต่อแทบจะใช้ไม่ได้ หรือบางส่วนเด็กไม่รับผิดชอบ หนังสือก็หาย แล้วกระทรวงจะมีมาตรการอย่างไร หายแล้วหายไป หรือหายแล้วควรให้เด็กรับผิดชอบ
ถ้าให้รับผิดชอบด้วยการซื้อหนังสือชดใช้ พบว่าผู้ปกครองบางส่วนอาจไม่ค่อยยินดีที่จะให้บุตรหลานยืมเรียนเท่ากับต้องการซื้อหนังสือใช้เอง แต่หากไม่ให้เด็กต้องรับผิดชอบ ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ฝึกความรับผิดชอบ
นอกจากต้องมีระบบการจัดการกับตำราเรียนฟรีแล้ว แต่ก็คงไม่ใช่การแจกตำราเรียนทุกปี หรือใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อซื้อตำราเรียนกันทุกปี
เรื่องที่สำคัญอาจไม่ใช่แค่ตำราเรียนฟรีแค่นั้นแต่ต้องคัดสรรตำราเรียนที่มีคุณภาพด้วย ไม่ใช่ระบบการประมูล หรือมอบหมายให้สำนักพิมพ์ใดสำนักพิมพ์หนึ่งรับไปจัดพิมพ์ เหมือนที่พบปัญหาที่เกิดกับ อปท. หลายๆ แห่ง ว่ามีการจัดส่งหนังสือเรียน หนังสืออ่านนอกเวลา สื่อต่างๆ ไม่มีคุณภาพ
หรือหากจะกำหนดว่าวีชานั้นวิชานี้ให้สำนักพิมพ์หรือแม้แต่องค์การค้าคุรุสภาไปผูกขาดการจัดพิมพ์ก็ไม่สมควร เพราะระบบผูกขาดกับความมีคุณภาพมักจะสวนทางกันเสมอ
การจะตัดสินใจวิชาใดจะใช้ตำราเรียนของสำนักพิมพ์ใด อาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญคนใดเป็นคนเขียน ให้เลือกสรรตำราเรียนที่เขียนได้ดี ถูกต้อง ทันสมัย น่าจะให้อำนาจการตัดสินใจแก่ครูผู้สอนแต่ละคนว่าวิชาไหน โรงเรียนใด จะใช้ตำราเรียนของใคร เพราะครูที่สอนในแต่ละวิชาน่าจะรู้ว่าตำราเรียนเล่มใด เหมาะสมกับเด็กที่ตนเองสอนมากกว่าใคร
แม้แต่ผู้บริหารโรงเรียน ก็ไม่ควรเป็นผู้กำหนด นอกจากไม่ได้สอน ไม่เชี่ยวชาญในเนื้อหาแล้ว ขืนให้ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดสำนักพิมพ์ หรือล็อคว่าวิชาใดต้องใช้สำนักพิมพ์ใด ก็จะทำให้ถูกข้อครหาไปโดยใช่เหตุ อีกทั้งมีเรื่องที่ระดับผู้บริหารควรจะทำอีกมาก เรื่องการเลือกตำราเรียนก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนแต่ละวิชา แต่ละโรงเรียน
นอกจากนี้การใช้งบประมาณเพื่อซื้อตำราเรียนถึง 6 พันล้านบาท จะมีระบบการจัดการเรื่องเปอร์เซ็นต์อย่างไร เพราะเดิมที่โรงเรียนเคยจำหน่ายตำราเรียนให้นักเรียน น่าจะมีกำไรจากส่วนลดที่สำนักพิมพ์ลดให้ราว 20% ถ้าคิดจากเงิน 6 พันล้านก็เป็นเงินจำนวนไม่ใช่น้อย แล้วจะจัดการกับเงินส่วนนี้อย่างไร เดิมโรงเรียนเคยนำเงินส่วนนี้ลงบัญชีไว้ใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ถ้าให้โรงเรียนจัดการเป็นการกระจายเงินอีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการจัดการศึกษา แต่หากกระทรวงจัดส่งตำราเรียนให้โรงเรียนเงินส่วนลดนี้จะไปกองที่ใด มีวิธีการจัดการอย่างไร
ในส่วนของเสื้อผ้าฟรีคนละ 2 ชุด เด็กได้รับแจกฟรีจริง แต่อย่าลืมว่ารัฐต้องใช้งบประมาณถึง 4.5 พันล้านบาท จะทำอย่างไรให้เสื้อผ้าชุดนักเรียนมีคุณภาพดี ใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่แจกไปแล้วเด็กไม่กล้าใส่ เพราะทั้งคุณภาพไม่ดี ฝีมือตัดเย็บใช้ไม่ได้ ดังนั้นจึงควรวางมาตรการเพื่อให้ได้เสื้อผ้าราคาไม่แพงเกินจริง และมีคุณภาพดี
อีกทั้งหากเป็นไปได้หากสามารถนำงานการตัดเย็บเสื้อผ้าเหล่านี้ ให้ชุมชนหมู่บ้านที่มีความสามารถในการตัดเย็บเสื้อผ้า ที่มีอยู่ทั่วประเทศรับงานไปแล้ว มากกว่าที่จะมอบให้โรงงานใหญ่ที่มีความสามารถในการประมูลแข่งขันเท่านั้น ก็น่าจะเป็นการกระจายรายได้สู่ชนบท และชาวบ้านในชุมชน ดีกว่าปล่อยให้งบประมาณจำนวนมหาศาลนี้ตกไปอยู่กับนายทุน เพียงไม่กี่รายเท่านั้น
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากเงินจะรั่วไหล หรือต้องซื้อสินค้าราคาแพง แถมคุณภาพต่ำ ในขณะที่ประเทศไม่ได้มีเงินมากมายให้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
นอกจากตำราเรียนและเสื้อผ้าแล้ว ยังมีอุปกรณ์การเรียนฟรี ค่าเล่าเรียนฟรี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะจัดให้เท่าที่จำเป็นเป็นรายกรณีไป เพราะใครที่มีความสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ก็ไม่ควรรับสวัสดิการนี้ เงินงบประมาณที่เหลือจะได้จัดสรรให้กับคนยากจนจริงๆ ได้มีโอกาสเล่าเรียน เพราะบางทีแค่มีตำราเรียน เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ค่าเล่าเรียนฟรี
เด็กบางคนที่มีฐานะยากจน ก็ยังไม่สามารถมาเรียนได้เท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ เนื่องจากยังต้องมีเรื่องอาหารการกิน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หากรัฐไม่ต้องใช้งบประมาณไปโดยไม่จำเป็นแล้ว อาจจะจัดสรรเป็นเงินทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่ยากจนเป็นค่าอาหารกลางวัน ได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็เป็นได้
การทุ่มงบประมาณแบบปูพรมเพื่อให้โอกาสแก่คนทุกคน อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งคนจนคนรวยในทางทฤษฎีถือเป็นการให้ความเท่าเทียมกันก็จริง แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ถือว่าเป็น ความเท่าเทียมกัน เนื่องจากคนที่มีอยู่แล้ว เมื่อได้รับสิทธินี้ย่อมมีมากขึ้น ก็ยิ่งทิ้งห่างคนยากจนเข้าไปใหญ่ ดังนั้นนโยบายเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพรัฐจึงควรเลือกสรรให้แก่คนที่สมควรได้รับจริงๆ อย่างเต็มที่ และทั่วถึง ขณะที่งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้อย่างมีคุณภาพด้วย
ที่มา มติชนรายวัน วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11 หน้า 9
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Saturday, 14 March 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment