เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท
นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท ควรเปลี่ยนชื่อเป็น “เงินกตัญญู 500 บาท”
เปิดรับลงทะเบียนผู้สูงอายุ จนถึง 16 มีนาคมนี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 500 บาท จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวลงชื่อเพื่อรักษาสิทธิของตัวเอง ...
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่ผู้มีสิทธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง ในอัตราเดือนละ 500 บาท ดังนี้ ...
ขอเชิญชวนผู้สูงอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สัญชาติไทย เกิดก่อนวันที่ 1 เม.ย.2492 และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ/ท้องถิ่น มาลงทะเบียนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุพร้อมกันทั่วประเทศ 26 ก.พ. 52 - 15 มี.ค.52
ที่มา
http://www.m-society.go.th/news_detail.php?newsid=2909&groupid=
http://www.oppo.opp.go.th/
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255202230293&tb=N255202
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=124303
-:- หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 (พม.)
-:- การเตรียมความพร้อมในการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (มท.)
-:- ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
-:- แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุพร้อมหนังสือมอบอำนาจ
กรุงเทพมหานคร
ต่างจังหวัด
"การสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีคุณค่า มีเกียรติภูมิ คงศักดิ์เป็นมนุษย์ มีวิถีชีวิตที่ไม่แปลกแยกจากชุมชน และอยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติสุข" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ประกาศเจนารมณ์มุ่งส่งเสริมและสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ
เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนและสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง โดยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุรายเดือนๆ ละ 500 บาท(ตลอดชีพ) ตั้งแต่เมษายน พ.ศ.2552 เป็นต้นไป ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีคุณค่า มีเกียรติภูมิ คงศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีวิถีชีวิตที่ไม่แปลกแยกจากชุมชน และอยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติสุข
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ
มีสัญชาติไทย
มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2492
ส่วนผู้สูงอายุที่ทราบเพียงปีเกิดแต่ไม่ทราบวันและเดือนเกิดให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 ม.ค.ของปีนั้นๆ
ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ ผู้รับเงินเบี้ยยังชีพตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย หรือกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จัดให้เป็นประจำ
ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราที่รัฐดูแลอาหารและที่พักให้อยู่แล้ว
กรณีที่เป็นพระสงฆ์ หากเป็นเจ้าอาวาสจะไม่สามารถขอรับเงินได้
แต่ถ้าเป็นพระลูกวัดจะสามารถยื่นเรื่องขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้
หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
สำเนาทะเบียนบ้าน
สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนาสำหรับในกรณีประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร (ทุกธนาคาร)กรณีที่ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าจะต้องเป็นธนาคารกรุงไทย , ธกส. หรืออื่นๆ ให้เป็นไปตามนั้น เนื่องจากเป็นนโยบายของแต่ละเขต
ขั้นตอนการยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติครบตามรายละเอียดข้างตน สามารถยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง
ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
(สามารถขอรับแบบฟอร์มได้ที่สำนักงานเขต องค์การบริหารส่วนตำบล หรือใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็ได้)
การยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552-15 มีนาคม 2552
สถานที่ลงทะเบียนยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เขตภูมิภาค ยื่นได้ที่ เทศบาล / อบต. ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
เขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่สำนักงานเขต ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ระหว่างเวลา 08.00 – 16.00 น. ทุกวัน โดยไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่ผู้มีสิทธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง
ในอัตราเดือนละ 500 บาท ดังนี้
จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
การสิ้นสุดการได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ.2552 เป็นต้นไป และสิทธิของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
ถึงแก่กรรม
ขาดคุณสมบัติ
แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่
สอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์ประชาบดี โทร. 1300
ศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน โทร.1111 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โทร 0-2245-5166 ในวันและเวลาราชการ (เฉพาะกรุงเทพมหานคร)
"ผู้สูงอายุ คือคุณค่าของสังคม"
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Wednesday, 18 March 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment