Abstinence and Fasting: การถือศีล - อดอาหาร
โดย : คุณพ่อทินรัตน์ คมกฤส
ในโอกาสวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 คือ "วันพุธรับเถ้า 2009" (Wednesday Ashed)
เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่เทศกาลมหาพรตของชาวคริสต์...ซึ่งในวันนี้จะมีการจำศีลอดเนื้อ -อดอาหาร
เริ่มต้นการทำกิจใช้โทษบาป ด้วยการภาวนา ถือศีลอดอาหาร และการให้ทาน เพื่อเป็นการทำกิจใช้โทษบาป เตรียมตัวเข้าสู่การฉลองปัสกา...นี่คือ 40 วัน แห่งการทำกิจใช้โทษบาป ตามจิตตารมณ์มหาพรต"
จึงขอแบ่งปันเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการถือศีล -อดอาหารของชาวคริสต์(โรมันคาทอลิก) ดังนี้
" คาทอลิกมีแนวปฏิบัติตามพระบัญญัติพระศาสนจักรข้อที่ ๒ ที่ว่า " จงอดอาหารและอดเนื้อในวันบังคับ"
มีวัตถุประสงค์ที่ช่วยให้เราคาทอลิกเข้าถึงหนทางแห่งการกลับใจ อันนำไปสู่พระอาณาจักรพระเจ้า
ที่พระเยซูเจ้าทรงนำมามอบให้ "จงกลับใจดำเนินชีวิตใหม่ เพราะอาณาจักรสวรรค์ใกล้เข้ามาแล้ว"
(มธ ๔:๑๗) การกลับใจที่พระองค์กล่าวถึง คือ การมีสำนึกว่า เราทุกคนเป็นคนบาปต่อหน้าพระเป็นเจ้า
ผู้ศักดิ์สิทธิ์ การเข้าถึงพระองค์จำเป็นต้องละทิ้งบาปและเชื่อฟังพระองค์
การกลับใจ เป็นพระพรของพระเจ้าที่นำเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตภายในและภายนอก
โดยอาศัยกระบวนการถือศีลอดอาหาร การภาวนา การทำบุญให้ทาน (ทบต 12:8, มธ 6:1-6)
หลังจากที่พระศาสนจักรได้ปรับปรุง "กฎหมายพระศาสนจักร" ใหม่ เมื่อปี ค.ศ.1978 ได้มีการเสนอ
แนวปฎิบัติใหม่เกี่ยวกับการถือศีลอดอาหาร ตามระบุใน มาตรา 1249-1253 เกี่ยวกับ
" วันทำการใช้โทษบาป" (Days of Penance)
เพื่อความชัดเจนและเพื่อสร้างความเข้าใจเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง จะขอนำคำแปลกฎหมายพระศาสนจักร
มาตราข้างต้นมา ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
เราจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและแนวปฎิบัติอย่างไรบ้าง?...
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในหมู่สัตบุรุษและแม้แต่พระสงฆ์นักบวช สาเหตุเพราะได้มีการอธิบายและตีความ
ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของ "กฎหมายพระศาสนจักร" (Canon Law)
สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้มีการประกาศ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1992 ว่า
" เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1253 สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ประกาศว่า ให้ทำกิจชดเชยใช้โทษบาปอื่นๆ
ทดแทนการอดเนื้อและอดอาหาร ดังต่อไปนี้
1. ปฎิบัติกิจศรัทธาแบบอื่นๆ เช่น เดินรูป 14 ภาค เฝ้าศีลมหาสนิท สวดสายประคำ ฯลฯ
2. ปฎิบัติกิจเมตตาปราณี เช่น ให้ทานคนจน เยี่ยมคนเจ็บป่วย ฯลฯ
3. งดเว้นอาหาร หรือสิ่งที่เคยปฎิบัติเป็นประจำ เช่น งดดื่มสุราและเบียร์ งดสูบบุหรี่ ฯลฯ
ความหมายตามรากศัพท์
Abstinence ตามความหมายใน Dictionary ทั่วไป หมายถึง การละเว้น (อาทิ สุรา กามารมณ์)
หรือ ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงเรียบง่าย หรือ ความพอประมาณ พอเหมาะแก่อัตภาพ
รวมถึงการบังคับจิตใจตัวเองและการขจัดกิเลส
ความหมายทางธรรมประเพณี (ศาสนปฎิบัติ) ของศาสนาต่าง ๆ
ธรรมประเพณีการถือศีล มีมาแต่โบราณในอารยธรรมต่าง ๆ อาทิ
ชาวอียิปต์ ชาวอินเดีย ชาวกรีกและชาวอาหรับ
สำหรับชาวยิวในอดีตมีระบุ เรื่องการถือศีลและละเว้นอาหารบางชนิดไว้อย่างละเอียด
ในหนังสือเลวีนิติ บทที่ 2 และต่อมาสมัยอัครสาวก มีการระบุชัดว่า
มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการกินเนื้อที่ยังมีเลือด (ดู หนังสือกิจการอัครสาวก บทที่ 15)
คริสตชนยุคแรกๆ และยุคฤาษีนักพรตมีการปรับประเพณีถือศีลอดให้หลากหลายออกไปอีกด้วย
สำหรับเรานิกายโรมันคาทอลิก เราเคยยึดกฎอดเนื้อทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองสำคัญ
ต่อมา พระศาสนจักรออกข้อกำหนด Apostolic Constitution Paenitemini เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 1966
ลดวันบังคับ " ทำการใช้โทษบาป" (penitential days หรือ days of penance) เหลือเพียง
วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์
ความหมายของคาทอลิก ตามเจตนารมณ์ (ความเข้าใจใหม่) ของกฎหมายพระศาสนจักร
ความหมายเดิมของคำว่า "Abstinence " ตามธรรมประเพณีปฎิบัติที่นิยมในตะวันตก
ได้แก่ การ "อดเนื้อ" เพราะสำหรับชาวตะวันตก เนื้อเป็นอาหารโปรตีนที่จำเป็น
สำหรับในประเทศที่มีความหนาว ทั้งยังนับว่า เป็นของอร่อยที่ใช้ในการเลี้ยงฉลอง
การอดเนื้อสำหรับพวกเขา จึงนับเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่
แต่สำหรับคนในภาคตะวันออก เช่น คนเอเชีย ที่นิยมการไม่กินเนื้อสัตว์บกเป็นประเพณีอยู่แล้ว
การมีกฎ "อดเนื้อ" จึงไม่สู้มีความหมายอะไรและยังขัดกับเจตนารมณ์อีกด้วย เพราะคนจนหรือคนทั่วไป
สามารถหาเนื้อสัตว์บกได้ในราคาถูกกว่า สำหรับชาวเอเชีย ของอร่อย ของชอบ ของคนมีฐานะ
คือ อาหารทะเลประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา หากเขาอดเนื้อสัตว์บกและไม่รับประทานอาหารทะเล
ที่เป็นของชอบของอร่อย จะถือว่า เป็นการพลีกรรมได้หรือ?
ดังนั้น การมีบัญญัติพระศาสนจักรในอดีต ที่ให้ "อดเนื้อ" จึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์เท่าที่ควร
แต่กลายเป็นธรรมประเพณีที่พูดติดปากมาตลอด ที่ว่า "อดอาหาร อดเนื้อ" เพื่อเป็นการทำกิจใช้โทษบาป
แต่การอดเนื้อและไปรับประทานอาหารทะเล ประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา
ก็เป็นการผิดเจตนารมณ์อย่างเห็นได้ชัด
กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 123 ที่ให้อำนาจสภาพระสังฆราชท้องถิ่น สามารถกำหนดรูปแบบ
" fasting and abstinence " ในเชิงปฏิบัติ และในประเทศไทยก็ได้มีการประกาศไปแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1992
ให้มีการ "ทดแทน" แนวปฎิบัติตามระบุไว้ชัดเจนข้างต้น
ปัญหาสำคัญคงอยู่ที่การบัญญัติศัพท์ของคาทอลิกว่า "Abstinence" และแปลว่า อะไร หากยังแปลว่า
"อดเนื้อ" ก็ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายพระศาสนจักร
มาตรา 1251 ยังได้ยกตัวอย่างของ "Abstinence " อีกว่า
" Abstinence from eating meat or another food accordng to the prescriptions of the conference of
bishops, is to be observed on..." ซึ่งหมายความว่า "การละเว้น" (abstinence)หรือในหลายศาสนาเรียกว่า
" การถือศีล" นั้นคือ " การละเว้นการกินเนื้อสัตว์หรือละเว้นอาหารอย่างอื่น..."
ดังนั้น สำหรับเราชาวคาทอลิก การบัญญัติศัพท์คำว่า "Abstinence" เป็น "อดเนื้อ" จึงไม่ตรงความหมาย
แต่ควรเป็น "การถือศีล"มากกว่า
ข้อเสนอศัพท์ที่ควรใช้
Abstinence ในเชิงธรรมประเพณีคาทอลิก ควรแปลว่า "การถือศีล"
Fasting คือ การอดอาหาร ซึ่งองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ของการถือศีลไปพร้อมกันด้วย
ดังนั้น หากเราใช้ศัพท์ " การถือศีลอดอาหาร" ก็เป็นการเพียงพอ
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
การทำศาสนสัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
" ศาสนสัมพันธ์ เป็นการเสวนาระหว่างศาสนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกัน และเพื่อความดี ร่วมกันเน้นการ เสวนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของท้องถิ่นด้วย "
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้จัดการแผนกศาสนสัมพันธ์ ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต
"ในสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ควรมีฝ่ายจิตตาภิบาล สนับสนุนให้ทุกคนเป็นศาสนิกที่ดีในศาสนาของตน เพื่อนำสู่การทำศาสนสัมพันธ์ โดย
•ปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ การเสวนากับผู้ต่างความเชื่อ
•ส่งเสริมการเสวนาระหว่างศาสนาในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพให้เกียรติและร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม สันติสุข และความเป็น พี่น้องกัน
Dekdee Club Chat
Monday, 23 February 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
วันเด็กแห่งชาติ
- ความหมายของเด็ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
- ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาตินั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ *ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง *เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน *เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ *ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ
- ดาวน์โหลดเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี* เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ * เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ห้า ยึดมั่นกตัญญู หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน แปด รู้จักออมประหยัด เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
No comments:
Post a Comment